22.05.57

บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ซะหน่อยเถอะ__

หลังจากเมื่อปี 2549 ที่บิ๊กบัง พล.อ.สนธิ บุณยรัตน์กลินได้ยึดอำนาจจากทักษิณ ชินวัตร ครั้งนั้นเรียกเต็มปากว่า “ปฏิวัติ”

แต่ครั้งนี้ยึดอำนาจโดยบิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  แต่เรียกว่า “รัฐประหาร” แทน

ปฏิวัติ (revoluton) หมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบหรือระบอบการปกครองประเทศ จากรูปแบบหนึ่ง ไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง อย่างสิ้นเชิง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส (เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ)หรือ ในประเทศไทย ก็คือสมัย ร๗ ที่เปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ)

ส่วน รัฐประหาร(coup de ta) หมายถึง การใช้กำลัง เพื่อเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาล โดยระบอบการปกครองยังคงเดิม เช่น การรัฐประหารสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ สมัย พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ ซึ่งจะเห็นว่า เปลี่ยนแปลงเฉพาะคณะรัฐบาลเท่านั้น โดยที่ประเทศไทยยังคงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุขเช่นเดิม

เมื่อสองขั้วทางการเมือง คือ กปปส.(ประชาธิปัตย์) และ นปช. (เพื่อไทย) ต่างไม่ยอมกัน มุ่งจะห่ำหั่นให้ได้ซึ่งชัย โดยไม่คิดลดลาวาศอก หรือพบกันครึ่งทาง และหาข้อตกลงกันไม่ได้ ยิ่งยืดเยื้อยิ่งยากจะยุติ ประเทศชาติบอบช้ำครั้งแล้วครั้งเล่าจนยากจะเยียวยา  ทหารจึงออกมาทำหน้าที่อีกครั้ง

โดยทหารเริ่มจากประกาศกฏอัยการศึก เพื่อเตือนทุกฝ่ายให้ยุติ แต่ดูเหมือนไม่มีใครเชื่่อในกฏนั้น และแล้วในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ ผอ.รส. กล่าวเสียงเข้มในที่ประชุมว่า คงปล่อยให้เกิดความขัดแย้งยืดเยื้อต่อไปโดยไม่มีทางออก จึงพร้อมทำทุกอย่างร่วมกับทุกเหล่าให้เกิดสันติสุขโดยเร็ว หวังว่าทุกท่านจะให้เกียรติกองทัพ และอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันทำทุกอย่างให้ดีขึ้น

“สำหรับการประกาศกฎอัยการศึก เชื่อว่าขณะนี้คงเกิดข้อขัดแย้งในใจหลายฝ่าย แต่ขอให้เชื่อว่าผมได้ทำทุกอย่าง พยายามทำทุกอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่ต้องคิดหรือกังวลแทนผม เพราะผมพร้อมรับผิดชอบทุกอย่างไม่ว่าจะถูกหรือผิด แต่ขอให้รู้ว่าที่ผมทำผมรับผิดชอบทุกประการ”

ที่ผมทำเพราะผมเป็น คนที่เกิดในแผ่นดินนี้ และเป็นหนี้ในแผ่นดินนี้ ที่ผมจำเป็นต้องมามีส่วนร่วม เพราะผมรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงเป็นหลัก แต่ทว่ามันเกี่ยวข้องในหลายมิติ หากก้าวล่วงใคร ผมก็ขออภัยมา ใน โอกาสนี้ด้วย

 

จึงเก็บบันทึกไว้เป็นอนุสรณ์ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของประเทศไทย.